รายระเอียดวิชาจิตวิทยาในพระไตรปิฎก
๑.
ชื่อรายวิชา จิตวิทยาในพระไตรปิฎก ชื่อภาษาอังกฤษ Psychology in Tipitaka
๒.
รหัสวิชา ๑๐๑ ๔๑๕ จำนวนหน่วยกิต
๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชา เฉพาะสาขา
ระดับการศึกษา อุดมศึกษา
๓.
อาจารย์ประจำวิชา/ผู้บรรยาย พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร,ดร.
๔.
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาคำสอนเรื่องจิตและเจตสิกในพระไตรปิฎก
เปรียบเทียบกับทฤษฎีจิตวิทยาตะวันตกปัจจุบันพฤติกรรมของมนุษย์ตามแนวจริต ๖
และการพัฒนาการจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา
๕.
จุดประสงค์การเรียน
๕.๑
เพื่อรู้และเข้าใจลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการตามแนวพุทธจิตวิทยา
๕.๒
เพื่อให้สามารถอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงแห่งพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตในรูปของเหตุผลได้
๕.๓
เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาได้
๖.
จุดประสงค์เชิงคุณธรรม
๖.๑
เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดีตามหลักพระพุทธศาสนา
๖.๒
เห็นคุณค่าและรับผิดชอบต่อการเลือกใช้ วิธีพุทธจิตวิทยาที่เหมาะสมต่อพุทธบริษัท
๖.๓
มีจิตสำนึกต่อสาธารณะตามแนวพุทธจิตวิทยาอย่างเหมาะสม
๗.
รายละเอียดของวิชา
๗.๑ บทนำ สัปดาห์ที่ ๑ พระวุฒิพงษ์ โสภโณ , พระสุชาติ อโสโก
๗.๑.๑
ลักษณะจิตวิทยาพุทธและจิตวิทยาตะวันตก
๗.๑.๒
วัตถุประสงค์ของการศึกษาจิตวิทยา
๗.๑.๓
ลักษณะที่สอดคล้องกันและต่างกันระหว่างจิตวิทยาเชิงพุทธและจิตวิทยาตะวันตก
๗.๑.๔
รากฐานของจิตวิทยาพุทธศาสนา
๗.๒
โครงสร้างของชีวิต : ขันธ์ ๕ สัปดาห์ที่ ๒ นายศักดิ์มนูญ มูลอามาตร
๗.๒.๑ ขันธ์ ๕ ตัวสภาวะ
๗.๒.๒
ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ
๗.๒.๓
ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕ (ชีวิตกับชีวิตที่เป็นปัญหา)
๗.๒.๔
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
๗.๓
โครงสร้างของชีวิต : อายตนะ ๖ สัปดาห์ที่ ๓ นางสาววิจิตร อนันตา
๗.๓.๑
อายตนะ ๖ ตัวรับรู้และเสพเสวยโลก
๗.๓.๒
ประเภทและระดับของการรับรู้
๗.๓.๓
ความถูกต้องและความผิดพลาดของการรู้
๗.๓.๔
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
๗.๔ จิต
สัปดาห์ที่ ๔ พระศุภกิจ สุภกิจฺโจ
๗.๔.๑
โครงสร้างของจิต – กระแสการทำงานของจิต – เจตสิก
๗.๔.๒
ขั้นตอนการทำงานของจิตและละขณะ
๗.๔.๓
การจำแนกประเภทของจิต
๗.๕ อริยสัจ ๔ : จุดเริ่ม และหัวใจจิตวิทยาพุทธ
สัปดาห์ที่ ๕ นางสาวจุฑามณี เดชรักษา (รายงานแล้ว)
๗.๕.๑ ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ : ชนิดและระดับของทุกข์
๗.๕.๒
เหตุแห่งทุกข์ : แนวโน้มพื้นฐานแห่งชีวิต รูปแบบแห่งปฏิจจสมุปบาท
๗.๕.๓
ความสิ้นทุกข์ : ความจริงเกี่ยวกับความสุข
ลักษณะและความสำคัญของโสมนัส ปีติ สุข มุทิตา และทุกข์ ตามอภิธรรม
๗.๕.๔
ทางพ้นทุกข์ : อริยมรรคมีองค์ ๘ ความสัมพันธ์ระหว่างอริยสัจจ์ ๔
อริยมรรคมีองค์ ๘ และปฏิจจสมุปบาท ๑๒
๗.๕.๕
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
๗.๖
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา จากพุทธประวัติ สัปดาห์ที่ ๖ พระอธิการถาวร ถาวโร
๗.๖.๑
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา จากพระจริยาวัตรของพระสมณโคดม
๗.๖.๒
ลักษณะบุคลิกภาพจากมหาปุริสลักษณะ
๗.๖.๓
ลักษณะทางจิตวิทยาในกระบวนการแสดงธรรมเทศนา และกระบวนธรรม
๗.๗
จิตวิทยาแห่งนิพพาน สัปดาห์ที่ ๗
พระหลุ้ม เตชปญฺโญ, พระมหาปรีชา สิริปญฺโญ
๗.๗.๑
ลักษณะทางปัญญาในนิพพาน
๗.๗.๒
อารมณ์และความรู้สึกในนิพพาน
๗.๗.๓
นิพพาน และบุคลิกภาพ
๗.๗.๔
นิพพานและความตาย
๗.๗.๕
บุคลิกภาพของพระอรหันต์
๗.๗.๖
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
สัปดาห์ที่
๘ สอบกลางภาค
๗.๘
การคิดและการตัดสินใจ สัปดาห์ที่ ๙ พระชัยณรงค์ สุขวฑฺฒโน
๗.๘.๑
รูปแบบของการคิด – กลไกในการคิด
๗.๘.๒
เครื่องมือในการคิด – วิธีการคิดในพระพุทธศาสนา
๗.๘.๓
โยนิโสมนสิการ – บุพพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
๗.๘.๔
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
๗.๙
จิตวิทยาแห่งอริยมรรค มีองค์ ๘ พระสมพงษ์ จิตฺตทนฺโต
๗.๙.๑
ลักษณะสำคัญแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
๗.๙.๒
ศีล สมาธิ ปัญญา ลักษณะแห่งอริยมรรค
๗.๙.๓
ปัญญาและเมตตา เสาหลักแห่งอริยมรรค
๗.๙.๔ สมถะและวิปัสสนา
หลักการและวิธีการเยียวยา และพัฒนาจิตเชิงพุทธ
๗.๙.๕
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
๗.๑๐
อารมณ์ กับพฤติกรรมและการบำบัด สัปดาห์ที่ ๑๐ พระบุญตา
ฉนฺทกาโม , พระชลา ธมฺมวโร (รายงานแล้ว)
๗.๑๐.๑
อารมณ์คืออะไร – ชนิดของอารมณ์
๗.๑๐.๒
สิ่งเร้าและกระบวนการที่ทำให้เกิดอารมณ์
๗.๑๐.๓
บทบาทและลักษณะของอารมณ์
๗.๑๐.๔
การฝึกและการควบคุมอารมณ์
๗.๑๐.๕
ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
๗.๑๑ จิตวิทยาแห่งพุทธสุข สัปดาห์ที่
๑๑ พระวัชรินทร์
ฐานปาโล
๗.๑๑.๑ สุขภาพจิต
๗.๑๑.๒
ความทุกข์ และการคลายทุกข์
๗.๑๑.๓
การมองโลก และชีวิต
๗.๑๑.๔
การรักษาสุขภาพจิตให้สมบูรณ์
๗.๑๒
พุทธศาสนา และจิตวิทยาตะวันตก สัปดาห์ที่ ๑๒
พระสมพร เตชวโร
๗.๑๒.๑
ความคิดเรื่องจิตจากพระไตรปิฎกและจิตวิเคราะห์
๗.๑๒.๒
กลวิธานการป้องกันตัว จากทัศนะของพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาตะวันตก
๗.๑๒.๓
อวิชชาและความทุกข์ ทัศนะเปรียบเทียบระหว่างพุทธศาสนาและจิตวิทยาของฮอร์เนย์
๗.๑๒.๔
พุทธศาสนานิกายเซนกับจิตวิเคราะห์
๗.๑๒.๕
ทัศนะเกี่ยวกับความตายของพุทธศาสนาและจิตวิทยาตะวันตก
๗.๑๒.๖
“มนุษย์” ตามทัศนะพุทธศาสนาและจิตวิทยาตะวันตก
๗.๑๓
สมถะ วิปัสสนากับการพัฒนาด้านจิตวิทยา สัปดาห์ที่ ๑๓ พระชัยวิจิตร เตชธมฺโม
๗.๑๔ พุทธจิตวิทยากับการแก้ไขปัญหาทางสังคม
สัปดาห์ที่ ๑๔ พระอธิการภัทรพล ปญฺญาปโชโต ,พระมหาบุญช่วย
สัปดาห์ที่ ๑๕ สอบปลายภาค
๘.
กิจกรรมการเรียนการสอน
๘.๑
แนะนำเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
๘.๒
บรรยายเนื้อหาตามเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
๘.๓
อภิปราย-ซักถาม และเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
๘.๔
แนะนำและมอบหมายการศึกษาค้นคว้ารายงานเฉพาะบุคคลและกลุ่ม
๘.๕
ศึกษาและทดลองปฏิบัติ-บรรยาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
๘.๖
นำเสนอรายงานและการประเมินผลการเรียนรู้
๙.
การวัดและประเมินผล
๙.๑
จิตพิสัย (ความตั้งใจ ความร่วมมือ มารยาท มนุษยสัมพันธ์
ความซื่อสัตย์
ความรับผิดชอบ) ๑๐ คะแนน
๙.๒
ทักษะพิสัย (ความพร้อม ความเชี่ยวชาญในการนำเสนอ
หรือแสดงออกในด้านวิชาการ) ๑๐ คะแนน
๙.๓
พุทธิพิสัย (ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้เอกสาร
รายงาน
สอบกลางภาค) ๒๐ คะแนน
๙.๔
สอบปลายภาค ๖๐
คะแนน
รวม
๑๐๐ คะแนน
๑๐.
หนังสืออ่านประกอบและอ่านเสริม
เดโช สวนานนท์. จิตวิทยาทั่วไป.
กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๑๙.
นิภา นิรยายน. การปรับตัวและบุคลิกภาพจิตวิทยาเพื่อการศึกษาและชีวิต.
กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๐.
นพมาศ ธีรเวคิน. จิตวิทยาสังคมกับชีวิต.
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปะศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒.
บุญส่ง นิลแก้ว. การวัดผลทางจิตวิทยา.
กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๙.
พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๕๒.
วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. จิตวิทยาพุทธศาสนา.
กรุงเทพมหานคร : บริษัทเมดาร์ท จำกัด, ๒๕๓๔.
สมัคร บุราวาศ. จิตวิทยาและการทำใจทางพระพุทธศาสนา.
พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๒.
สุโท เจริญสุข. จิตวิทยาสำหรับอุดมศึกษาปัญญาชน.
กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๐.
สถิต วงศ์สวรรค์. จิตวิทยาสังคม เล่ม ๑-๒.
กรุงเทพมหานคร : รวมสาส์น, ๒๕๒๙.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๐๕.
สุชา จันทร์หอม. จิตวิทยาทั่วไป.
กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๓.
สุชา-สุรางค์ จันทร์หอม. จิตวิทยากับการดำรงชีวิตประจำวัน.
กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา, ๒๕๒๐.
สุรไกร เอี่ยมอุดม. จิตวิทยาในการครองชีวิต.
พระนคร : วัชรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๑.
โสภา ชูพิกุลชัย. จิตวิทยาทั่วไป.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๘.
อบรม สินภิบาล. รวมทฤษฎีจิตวิทยา.
กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ม.ป.ป.
King.C.T. and
Meogan. Introduction to Psychology. McGraw Intenational Editions.
Govinda,
L.A. The Philosophical Attitude of Early Buddhist Philosophy. London :
Samuel Weider, INC, 1971.
Jayassuriya,
Dr.W.F. The Psychology and Philosophy of Buddhism : An Introduction to
Abhidhamma. Malaysia : B.M.S. Publication, 1976.
Johauson,
Rune E.A. Psychology of Niravana. London : George Allen and Union Ltd,
1969.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น