วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓) รายวิชา ๑๐๑ ๔๐๙ จิตวิทยาในพระไตรปิฎก


รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓)
รายวิชา  ๑๐๑ ๔๐๙    จิตวิทยาในพระไตรปิฎก

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตขอนแก่น/คณะพุทธศาสตร์/สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป
. รหัสและชื่อรายวิชา
๑๐๑  ๔๐๙  จิตวิทยาในพระไตรปิฎก         Psychology  in  Tipitaka
. จํานวนหน่วยกิต
๓ หน่วยกิต (--)
. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
พุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
.ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ ๒ / ชั้นปีที่ ๔  (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา)
.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
ไม่มี
.รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
.สถานที่เรียน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตขอนแก่น  ต.โคกสี  อ.เมือง  จ.ขอนแก่น
.วันที่จัดทําหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
 ตุลาคม  ๒๕๕๕


หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1.       ๑. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
             เพื่อให้นิสิตมีความรู้เรื่องจิตและกระบวนการทำงานของจิตตามแนวพระสูตรและพระอภิธรรมปิฎก มองเห็นความสำคัญของจิตในฐานะเป็นที่เกิดของพฤติกรรมทั้งปวง สามารถใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาควบคุมจิตตนเองได้ เข้าใจตนเองและผู้อื่นใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
           ๑. เพื่อให้นิสิตรู้และเข้าใจลักษณะโครงสร้างของชีวิตแนวพุทธจิตวิทยา
           ๒. เพื่อให้นิสิตรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตและเจตสิกในฐานะเป็นจุดเกิดแห่งพฤติกรรมมนุษย์
           ๓. เพื่อให้นิสิตเข้าใจหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับจิต สามารถควบคุมจิตตนเองได้ เข้าใจผู้อื่น มีจิตเมตตาอารีพร้อมช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์
           ๔.  เพื่อฝึกฝนให้นิสิตสามารถใช้จิตวิทยาในพระไตรปิฎกเพื่อการเผยแผ่ธรรมแก่พุทธศาสนิกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมวดที่ ๓  ลักษณะและการดำเนินการ
๑.  คำอธิบายรายวิชา
              ศึกษาคำสอนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของชีวิต (ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖) จิต เจตสิก และวิถีจิตตามแนวพระอภิธรรม ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ตามแนวจริต ๖ อารมณ์พฤติกรรมและจิตบำบัดเชิงพุทธในพระไตรปิฎก เทคนิคการใช้จิตวิทยาเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
. จํานวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา


บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
 การบรรยาย ๔๕ ชั่วโมง/ ภาคการศึกษา
ไม่มี
ฝึกงานภาคสนามจำนวน ๓  ชั่วโมง
การศึกษาด้วยตนเอง ๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
. จํานวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คําปรึกษาและแนะนําทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล 
- รายบุคคลคนละประมาณ ๓๐ นาที (เฉพาะนิสิตรูปที่ต้องการขอคำปรึกษา)
- รายกลุ่ม กลุ่มละ ๔๐ นาที โดยประมาณ

หมวดที่ ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิต
. คุณธรรม จริยธรรม
.๑ คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
        -   ใช้พุทธจิตวิทยาในการจัดการกับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์
        -   มีจิตเมตตาโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่น
        -   อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างสันติ
        -   มีสุขภาพจิตดี อารมณ์แจ่มใส
.๒ วิธีการสอน
          - บรรยายโครงสร้างของชีวิตพร้อมกับชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของชีวิตและที่สำคัญที่สุดคือจิตซึ่งเป็นจุดกำเนิดของความสุขและทุกข์พร้อมทั้งวิธีการฝึกจิตแนวพุทธ เป็นต้น
          - ให้นิสิตฝึกกิจกรรมภาคปฏิบัติโดยไปเยี่ยมและให้กำลังใจคนไข้ที่โรงพยาบาลและตามหมู่บ้านใกล้เคียงพร้อมกับรายงานผล
.๓ วิธีการประเมินผล
          -  พฤติกรรมการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา
             -  งานที่ได้รับมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม


. ความรู้
.๑ ความรู้ที่ต้องได้รับ
            -  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องจิต เจตสิกและโครงสร้างของชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา
            -  มีความเข้าใจกระบวนการพัฒนาจิตตามแนวพุทธจิตวิทยา
            -  มีความรู้ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลตามแนวจริต ๖
            -   มีความเข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์ พฤติกรรมและการทำจิตบำบัดเชิงพุทธ
.๒  วิธีการสอน
          บรรยาย อภิปราย การถาม- ตอบ มอบหมายให้ทํางานเป็นกลุ่ม ให้นําเสนอรายงาน
.๓ วิธีการประเมินผล
          -  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
          -  ประเมินจากการออกกิจกรรมภาคสนามและนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
.  ทักษะทางปัญญา
.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
          -  นิสิตมีความสามารถเข้าใจเรื่องจิตตามแนวพุทธและกระบวนการทำงานของจิตอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของตนเองและผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
.๓ วิธีการประเมินผล
           - การทดสอบกลางภาค และทดสอบปลายภาค
           - ประเมินจากรายงานและการทำกิจกรรมกลุ่ม


.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
            - พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
            - พัฒนาความเป็นผู้นําและผู้ตามในการทํางานเป็นทีม
            - พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
.๒ วิธีการสอน
            - จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
            - มอบหมายงานกลุ่ม
            - การนําเสนอรายงานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม
.๓ วิธีการประเมินผล
          - รายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม


หมวดที่ ๔ แผนการสอนและการประเมินผล
. แผนการสอน สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ 
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จํานวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน
บทที่ ๑
- ความหมายของจิตวิทยาแนวพุทธและจิตวิทยาตะวันตก
-  วัตถุประสงค์ของการศึกษาจิตวิทยา
-  ลักษณะที่สอดคล้องกันและต่างกันระหว่างจิตวิทยาเชิงพุทธ          และจิตวิทยาตะวันตก
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
-
บทที่ ๒  โครงสร้างของชีวิต : ขันธ์ ๕             
-  ลักษณะทางกายภาพ (รูปขันธ์)
-  ลักษณะทางจิตใจ (นามขันธ์)
-  ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่าง ๆ (ร่างกายและจิตใจ)
- ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ (ชีวิตที่เป็นปัญหา)
-  อาหารหล่อเลี้ยงชีวิต
-  ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
 พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
บทที่ ๓ โครงสร้างของชีวิต : อายตนะ ๖
-  อายตนะ ๖ ตัวรับรู้และเสพเสวยโลก
-  ประเภทและระดับของการรับรู้
- ความถูกต้องและผิดพลาดของการรับรู้
-  ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
 พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
๕ - ๖
บทที่ ๔  จิต เจตสิก                                       - ความหมายและการจำแนกประเภทของจิตและเจตสิก
-  กระแสการทำงานของจิต(วิถีจิต)
-  ขั้นตอนการทำงานของจิตแต่ละขณะ
-  การแตกดับของชีวิตและจิต
-  เจตสิกในฐานะผู้ปรุงแต่งจิตและเกิด-ดับร่วมกับจิต
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
๗ - ๘
บทที่ ๕   อริยสัจจ์ ๔  : จุดเริ่มและหัวใจจิตวิทยาพุทธ                 
- ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ : ชนิดและระดับของทุกข์
-  เหตุแห่งทุกข์ : แนวโน้มพื้นฐานแห่งชีวิต รูปแบบแห่งปฏิจจสมุปบาท
-  ความสิ้นทุกข์ : ความจริงเกี่ยวกับความสุขและความสำคัญของโสมนัส  ปีติ  สุข  มุทิตา  และทุกข์
- ทางพ้นทุกข์ : อริยมรรคมีองค์ ๘  กับความสัมพันธ์ระหว่างอริยสัจจ์ ๔ และปฏิจจสมุปบาท ๑๒
-   ข้อสังเกตทางจิตวิทยา
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
 พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
๙ - ๑๐
บทที่ ๖  จริต ๖ กับการสร้างมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธ
-ความหมายและประเภทของจริตในพระไตรปิฎก
- เหตุเกิดของจริต
-วิธีการสังเกตจริตในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา(วิสุทธิมรรค)
                  - สังเกตจากอิริยาบถ
                  - สังเกตจากการทำงาน
                  - สังเกตจากการกิน
                   - สังเกตจากการดู
                 -สังเกตจากธรรมที่ประพฤติ
- ประโยชน์จากการเรียนรู้จริต ๖
                    -  การครองใจคน
                    -  การมอบหมายงาน
                    -  การอบรมสั่งสอน
                   -  การติดต่อ
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
๑๑ - ๑๒
บทที่ ๗
อารมณ์กับพฤติกรรมและจิตบำบัดเชิงพุทธ         
-  อารมณ์คืออะไร
-  ชนิดของอารมณ์
- สิ่งเร้าและกระบวนการที่ทำให้เกิดอารมณ์
- บทบาทและลักษณะของอารมณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรม
- สมถะ-วิปัสสนา:แบบฝึกและการควบคุมอารมณ์ตามแนวพุทธ
-  สมถะและวิปัสสนา : หลักการและวิธีการจิตบำบัดเชิงพุทธ
บรรยาย ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.


๑๓ ๑๔ - ๑๕
บทที่ ๙
จิตวิทยาพระพุทธศาสนาเชิงประยุกต์
- การประยุกต์ใช้จิตวิทยาพระพุทธศาสนาเพื่อดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วย
- การใช้จิตวิทยาพระพุทธศาสนาในการสอนเยาวชน

- นิสิตทุกรูปเข้าร่วมอบรมเทคนิคการใช้พุทธจิตวิทยาเพื่อการเผยแผ่  ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดย คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
- แบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มออกเยี่ยมผู้ป่วยตามสถานพยาบาลและชุมชนเพื่อให้กำลังใจและให้คำแนะนำการใช้หลักธรรมในการประคองจิตยามป่วยไข้
อาจารย์และนิสิตทุกรูป


๑๖
- นิสิตร่วมอภิปรายแสดงทัศนะและรายงานผลการออกเยี่ยมและให้คำแนะนำการใช้หลักธรรมในการประคองจิตยามป่วยไข้ 
- สรุปเนื้อหารายวิชาในรายวิชาทั้งหมด

พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.

สอบวัดผลปลายภาค
๒ แผนการประเมินผลการเรียนรู้
ที่
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
สอบปลายภาค

๑๖
             ๖๐%
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนําเสนอรายงาน
การทํางานกลุ่มและผลงาน
การส่งงานตามที่มอบหมาย
ตลอดภาคการศึกษา
๒๐%
การเข้าชั้นเรียน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
๒๐%


หมวดที่ ๕ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
. เอกสารและตําราหลัก
พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ แปล ๔๕ เล่ม (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ให้ศึกษา).
คัมภีร์อรรถกถาและฎีกาและคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ให้ศึกษา).
วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. จิตวิทยาพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : บริษัทเมดาร์ท จำกัด, ม.ป.ป., ๒๕๓๘.
พระธรรมปิฎก(..ปยุตฺโต). พัฒนาชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระธรรมปิฎก(..ปยุตฺโต). จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระธรรมปิฎก(..ปยุตฺโต). จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคนตามแนวธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระราชวิสุทธิกวี (พิจิตร ตวณฺโณ). การพัฒนาจิต. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
. เอกสารและข้อมูลสําคัญ
ไม่มี
. เอกสารและข้อมูลแนะนํา
พระพุทธโฆสาจารย์. วิสุทธิมรรคแปล ภาค๑-. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘.
พระธรรมปิฎก(..ปยุตฺโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ระวี  ภาวิไล. อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จำกัด, ๒๕๓๖.
นิภา นิรยายน. การปรับตัวและบุคลิกภาพจิตวิทยาเพื่อการศึกษาและชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๐.
สมัคร  บุราวาส. จิตวิทยาและการทำใจทางพระพุทธศาสนา. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๒.
สุชา  จันทร์เอม. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๓.
พ.อ.ปิ่น  มุทุกันต์. พุทธวิธีครองใจคน. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๑๓.
พ.อ.ปิ่น  มุทุกันต์. ปาฐกถาเรื่องจิต. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

หมวดที่ ๖ การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนิสิต
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทําโดยนิสิต ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็นจากนิสิตได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
- ผลการสอบ /ผลงานเชิงประจักษ์


. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
. การดําเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ไดhมีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ ผู้สอน เพื่อให้นิสิตมีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือแนวคิดใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบัน